หมวดหมู่น่าสนใจ

บทความล่าสุด

  • thumbnail

    ชุดพระเหรียญโชคลาภ ปี2558

    ชุดพระเหรียญโชคลาภ ปี2558, พระโชคลาภปี58, บูชาได้โชค ได้ลาภ ปี2558, วัดพลับ, คณะ5

  • thumbnail

    เหรียญพระสีวลี

    เหรียญพระสีวลี, เหรียญโลหะพระสีวลี, คณะ5 วัดราชสิทธาราม

  • thumbnail

    งานพุทธาภิเษก พระพุทธเมตตา วันที่ 14 ธันวาคม 2557

    งานพุทธาภิเษกพระพุทธเมตตา วันที่ 14 ธันวาคม 2557 ณ.คณะ5วัดราชสิทธาราม โดยพ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี

  • thumbnail

    งานพุทธาภิเษก เหรียญพระสีวลี คณะ 5 วัดราชสิทธาราม

    งานพุทธาภิเษกเหรียญพระสีวลี วันที่ 29 พฤษจิกายน 2557 ณ.คณะ5วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)

  • thumbnail

    เลือกของทำบุญอย่างไรให้เหมาะสม

    การทำบุญ เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานานโดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วันพระ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่ทำบุญไปนั้นได้ใช้ประโยชน์มากน

  • สงบจิตใจ ร่วมทำบุญวันพระใหญ่ที่ “วัดราชสิทธาราม”

    thumbnail

    เขียนเมื่อ 2014-10-01 20:19:13

    6051 ครั้ง


    สมุดภาพวัดพลับ

    สงบจิตใจ ร่วมทำบุญวันพระใหญ่ที่  “วัดราชสิทธาราม” ( วัดพลับ )

     

    พระอุโบสถ "วัดราชสิทธาราม" ( วัดพลับ ) 

            พอใกล้ๆ วันสำคัญทางศาสนา ฉันก็เริ่มมองหาวัดที่จะเข้าไปทำบุญใหญ่สักครั้งหนึ่ง นอกเหนือจากวันธรรมดาที่จะตักบาตร ทำบุญ ทำทานอยู่แล้ว ยิ่งเป็นวันพระใหญ่ วันอาสาฬหบูชา ต่อด้วยวันเข้าพรรษา การได้ไปสงบจิตสงบใจให้เป็นกุศลกับตัวเองก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี
           
           แต่ถ้าจะให้ไปไกลจากเมืองกรุงก็คงจะไม่สะดวกนัก ฉันเลยขอเลือกที่จะไปทำบุญที่ “วัดราชสิทธาราม” หรือ “วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร” ที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี สาเหตุที่เลือกมาที่นี่ก็เนื่องจากวัดนี้มีชื่อเสียงทางด้านกรรมฐาน ที่สอนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ 


    ทางเข้าหน้าอุโบสถ "วัดราชสิทธาราม" ( วัดพลับ )

            ก่อนจะเข้าไปที่วัด ฉันก็ขอศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดนี้เสียหน่อย เวลาเดินดูภายในวัดจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งขึ้น วัดราชสิทธารามแห่งนี้ แต่เดิมมีชื่อว่า “วัดพลับ” สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ก็ไม่ได้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่ แต่ตัววัดเดิมนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดในปัจจุบัน
           
           มาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดใหม่บริเวณที่ติดกัน และให้รวมวัดพลับเดิมเข้าไปอยู่กับเขตวัดที่สร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากได้ทรงอาราธนา “พระอาจารย์สุก” (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น พระญาณสังวรเถร และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) มาจำพรรษา ณ วัดในกรุงเทพฯ 

     


    หน้าบันลวดลายไม้แกะสลัก

            พระอาจารย์สุก หรือ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวักราชสิทธาราม ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ทรงเชี่ยวชาญในกัมมัฏฐาน มีเมตตาภาวนาแก่กล้า จนสามารถเลี้ยงไก่ป่าให้เชื่องได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน”
           
           เมื่อเดินเข้ามาถึงตัววัดแล้ว สิ่งแรกที่ฉันเห็นเด่นชัดและสะดุดตาเป็นอย่างมากก็คือ พระอุโบสถ ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี หากมองขึ้นไปบริเวณหน้าบันแล้วสังเกตดีๆ จะเห็นลวดลายไม้แกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ล้อมรอบด้วยลายก้านขดประดับกระจกสีลงรักปิดทอง ที่ยังคงดูสวยสดงดงามแม้จะผ่านกาลเวลามายาวนานแล้ว 


    กุฏิวิปัสสนา ( โบราณ )

            สำหรับพระประทานในโบสถ์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย นามว่า “พระพุทธจุฬารักษ์” ฉันก็ได้ไปกราบสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนที่จะเดินดูความงดงามของจิตรกรรมฝาผนังภายใน ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ มหาเวสสันดรชาดก ภาพไตรภูมิ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของศิลปะแบบไทยๆ ที่น่าชื่นชม และควรอนุรักษ์ให้ลูกหลานเราได้เห็นสืบไป
           
           เมื่อเดินออกมาด้านนอก จะเห็นสิ่งก่อสร้างคล้ายๆ ศาลาหลังเล็กๆ ตั้งเรียงรายกันอยู่รอบโบสถ์ ฉันลองสอบถามคุณลุงที่นั่งอยู่แถวนั้น ท่านก็ตอบว่า สิ่งที่เห็นนี้คือกุฏิวิปัสสนา มีทั้งหมด 24 หลัง สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน และบริเวณหน้าบันก็ยังปั้นปูนเป็นลวดลายสวยงามด้วย นอกจากนี้ ที่ด้านหน้าโบสถ์ยังมีเจดีย์สำคัญอีก 2 องค์ คือ พระสิราศนเจดีย์ และ พระสิรจุมภฏเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบทรงเครื่อง ตั้งอยู่ทางทิศใต้และทิศเหนือของตัวพระอุโบสถ 


    พระสิราศนเจดีย์

            เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นมานานแล้ว จึงทำให้ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างและจุดสำคัญๆ อีกหลายจุด อาทิ พระวิหารแดง ศาลาการเปรียญ หอระฆัง และที่สำคัญ คือ พระตำหนักจันทน์ ที่ในอดีตเคยเป็นพระตำหนักจำพรรษาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่ทรงผนวช ส่วน พระตำหนักเก๋งจีน ที่สร้างอยู่คู่กับพระตำหนักจันทน์นั้น แต่เดิมก็ใช้เป็นที่รับรองผู้มาเข้าเฝ้าฯ และในบริเวณเดียวกันนี้ก็ยังมี ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งปลูกไว้ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
           
           อย่างที่บอกมากตั้งแต่ต้นว่า ฉันเลือกมาที่นี่เนื่องจากวัดนี้มีชื่อเสียงทางด้านกรรมฐาน จึงขอแนะนำเสียหน่อยว่า กรรมฐานของวัดราชสิทธาราม เป็นพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือการเรียนปฏิบัติไปตามกำลังของจิต เกิดสมาธิเป็นขั้นๆ ไป และถือว่าเป็นกรรมฐานของเก่าที่สืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยพุทธกาล 

     


    ต้นพระศรีมหาโพธิ์

            จนมาถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงเป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐาน โดยได้มีการสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เพื่อรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย หรือแตกกระจายไป
           
           แต่ในปัจจุบันนั้น กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับได้เสื่อมลงเรื่อยๆ โดยใช้แบบแผนอื่นเข้ามาแทน ซึ่งยังคงเหลือเฉพาะที่วัดราชสิทธารามเพียงแห่งเดียว ที่ยังคงรักษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเป็นหลักไว้อย่างยาวนานมาจนถึงขณะนี้ 


    รูปปั้นจำลองสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ตั้งอยู่ที่ คณะ 5 วัดพลับ

            ใครที่เพิ่งเริ่มต้นนั่งกรรมฐาน อาจจะมาเริ่มต้นที่วัดแห่งนี้ก็ได้ โดยจะมีการสอนนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้ในทุกวัน เวลา 09.00-19.00 น. ซึ่งเมื่อเรียนรู้แล้วก็สามารถนำไปปฏิบัติต่อเองที่บ้านได้
           
           สิ่งที่ไม่ควรพลาดอีกแห่งหนึ่งเมื่อมาถึงที่วัดนี้ก็คือ การขึ้นไปศึกษายัง พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ที่รวบรวมโบราณวัตถุ และของเก่าหายากต่างๆ มาให้ได้ศึกษากัน ทั้งของใช้ และของที่ได้รับพระราชทานของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) อาทิ ไม้เท้าเบิกไพรไผ่ยอดตาล พระคัมภีร์มูลกัจจายน์ อุณากัณฑ์ ที่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงคัดลอกด้วยลายพระหัตถ์ บาตรดินเผา ธรรมมาสน์แสดงธรรม เป็นต้น 


    หุ่นขี้ผึ้งพระอาจารย์สายวิปัสสนาในพิพิธภัณฑ์ ที่ตั้งอยู่ที่ คณะ 5 วัดพลับ

             และยังมีหุ่นขี้ผึ้งของพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) รวมถึงหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์วิปัสสนาสายเดียวกันนี้อีกหลายองค์ ที่รวบรวมไว้อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปได้เข้าไปกราบไหว้

     

           
           นอกจากจะไปสงบจิตสงบใจด้วยการเข้าวัดทำบุญ หรือไปนั่งสมาธิที่วัดแล้ว ฉันว่า การที่ทำจิตใจให้สงบ มีสติ รู้จักอยู่กับปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถสงบจิตสงบใจของเราได้เช่นกัน และนอกจากจะได้ทำบุญในช่วงวันพระใหญ่แล้ว ฉันว่าจะชวนแม่และคนในครอบครัวมาทำบุญด้วยกัน จะได้มีความสุขกันไปทั้งบ้าน 

     

    หนึ่งในวิธีการปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ

     

    ที่มา...http://www.manager.co.th/travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000094218

     

     

    เเสดงความคิดเห็น

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    thumbnail
    งานพุทธาภิเษก พระพุทธเมตตา วันท...

    งานพุทธาภิเษกพระพุทธเมตตา วันที่ 14 ธันวาคม 2557 ณ.คณะ5วัดราชสิทธาราม โดยพ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี

    thumbnail
    เลือกของทำบุญอย่างไรให้เหมาะสม

    การทำบุญ เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานานโดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วันพระ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่ทำบุญไปนั้นได้ใช้ประโยชน์มากน

    thumbnail
    พระประจำวันเกิดทั้ง 8 และประวัติ...

    เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ประชากรร้อยละ 95 ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ซึ่งถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้ นอกจากพระประธานที่พุทธศาสนิกช

    thumbnail
    พระโบราณกับการความอุทิศตน ด้วยก...

    การรักษาศพหรือการทำมัมมี่ของคนที่ตายแล้วก็ว่าน่าทึ่งแล้ว แต่การทำมัมมี่ตัวเองทั้งๆ ที่ ยังไม่ตาย น่าทึ่งมากยิ่งกว่า ซึ่งอยากจะบอกว่า กระบวนการทำมัมมี่