สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า ( หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน )
เขียนเมื่อ 2014-09-28 05:17:35
141587 ครั้ง
พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำยุครัตนโกสินทร์ และพระธรรมทายาทวัดราชสิทธาราม วรวิหาร (พลับ)ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ประจำยุครัตนโกสินทร์
คำถวายนมัสการ
ข้าบังคมพระบาท บรมนาถผู้ทรงญาณ
พระธรรมอันพิศดาร ทั้งพระสงฆ์อันบวร
ข้าเชิญพระญาณสังวรเจ้า มาปกเกล้าฯปกเกษี
ชัยชนะแก่โลกีย์ ทั้งภัยพาลอันตราย
ขอให้พบพระพุทธศาสนา ด้วยศรัทธาอันพากเพียร
รู้แจ้งคัมภีร์เรียน สมถะ-วิปัสสนาทุกชาติไป
ขอเชิญคุณครูบา มารักษาให้มีชัย
ดลจิตบันดาลใจ สำเร็จทุกประการ
สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาคะโต
สิทธิเตโช ชโยนิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง
สัพพกัมมัง ประสิทธิ เม สัพพสิทธิ ภะวันตุ เม
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
๕ ธันวาคม ๒๕๔๖
ข้อมูลประวัติ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
• ประสูติ ตามคัมภีร์จันทรคติ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 10 ค่ำเดือน 2 ปีฉลู จุลศักราช 1095 เวลาไก่ขัน 05.48
• ตามคัมภีร์สุริยะยาตร์ ตรงกับวันศุกร์ 4 มกราคม พ.ศ. 2276
• ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
• บิดา มีนามว่า เส็งเป็นชาวจีน รับราชการกรมพระคลังสินค้า ตำแหน่งขุน
• มารดา มีนามว่า จีบ เชื้อสายไทย
• บรรพชา อายุราว 11‐12 ขวบ พระอุปัชฌาย์ ท่านขรัวตาทอง พระอธิการทอง ณ วัดท่าข่อยในสมัยนั้น หรือท่าหอยที่เรียกกันในระยะหลัง
• อุปสมบท พ.ศ. 2297 ท่านพระครูเถราเฒ่า นามว่า สี ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า หลวงปู่สี ณ วัดโรงช้าง เป็นพระอุปัชฌาย์
ดวงประสูติ
วันศุกร์ที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๒๗๖ เวลา ไก่ขัน สมผุส(ตามคัมภีร์สุริยยาตร์)
พฤหัส ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๒ ปี ฉลู (๑๐๙๕) ๑=๐๙:๐๔:๔๙ ๖=๑๐:๒๐:๑๘
เขตเวลา ๙๕:๔๖:E ๒=๐๑:๐๔:๕๐ ๗=๐๐:๐๐:๐๕
เกิด ลองติจูด ๓=๐๗:๐๑:๔๒ ๘=๐๖:๒๘:๕๕
๔ = ๐๘:๐๘:๔๖ ๙=๐๐:๒๐:๐๕
๕ = ๐๗:๑๕:๒๗ ๐=๐๗:๐๘:๐๑
ล = ๐๗:๑๕:๒๗ (อันโตนาที)
ลัคนาสถิตราสีพิจิก อัฏฐมวางศ์ ๘ ตติยตรียางค์ ๒ ฤกษ์ที่ ๑๘ ประกอบด้วย
สมโณแห่งฤกษ์ ๕ บริวาร ๘ อายุ ๖ เดช ๑ ศรี ๒ มูละ ๓ อุสาหะ ๔ มนตรี ๗ กาลกิณี
พระครูสุนทรสิทธิการ
( พระมหาสุคนธ์ สุคนธธโร )
วัดราชสิทธาราม คำนวน
พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
ประวิติโดยสังเขป
ประสูติกาลสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ทรงมีพระนามเดิมว่า สุก ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๒ ปีฉลู จุลศักราช ๑๐๙๕ นับวันเดือนปีตามคัมภีร์จันทรคติ ประสูติเวลาไก่ขัน(ช่วง ไก่กำลังอ้าปาก) การนับเวลาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตรงกับวันศุกร์ที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๒๗๖ นับวันเดือนปีตามคัมภีร์สุริยะยาตร์ ภายนอกกำแพงนอกคูเมือง ด้านเหนือของกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ณ. ตำบล บ้านข่อยเนื่องจาก พระองค์ท่านทรงมีพระวรรณะขาวผ่องใส ไปข้างพระบิดา ซึ่งเป็นชาวจีน มารดา-บิดาจึงขนานพระนาม ให้พระองค์ท่านว่า สุก มีความหมายว่า ขาว หรือ ใส เวลาที่พระองค์ท่านประสูตินั้น ตรงกับยามที่เก้า เรียกว่ายาม ไก่ขัน เป็นการนับยามกลางคืน สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งกะเวลาประมาณได้ ๐๕.๔๘ นาที (เวลาตีห้า สี่สิบแปดนาที) ซึ่งเวลานั้นเป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์ วัดใกล้เคียงบ้านท่าข่อย เช่น วัดท่าข่อย(ท่าหอย) วัดพุทไธศวรรย์ วัดโรงช้าง กำลังทำวัตรสวดมนต์ตอนเช้ามืดอยู่ เสียงสวดมนต์นั้นลอยลมมาถึงบ้านถ้าข่อย ซึ่งเงียบสงัด กล่าวกันว่า เวลาที่พระอาจารย์สุก ประสูตินั้น พระภิกษุกำลังสวดถึงบท ชะยะปริตตัง ตรงคำว่า ชะยันโต โพธิยา มูเล พอดี พร้อมกันนั้น ไก่ป่า ไก่วัด ไก่บ้าน ก็ร้องขันขาน รับกันเซงแซ่กล่าวอีกว่า ขณะที่พระองค์ท่านประสูตินั้น ไก่ป่า ไก่บ้าน ไก่วัด พอถึงเวลาใกล้ยามไก่ขัน(ประมาณ ๐๕.๑๐) ได้โบยบินมาในต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้บ้านมารดา-บิดา ของพระอาจารย์ พอถึงเวลายามไก่ขัน ไก่ป่า ไก่วัด ไก่บ้านทั้งสิ้น ได้พากันร้องขันขาน กันเซ่งแซ่ กลบเสียงพระสงฆ์สวดมนต์เวลาเช้ามืด แต่วันนี้ ไก่ทั้งสิ้น พากันร้อง ขานขัน กันนานกว่าทุกวัน ที่เคยได้ยินมาแต่ก่อน นับเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
พระญาติ ข้างฝ่ายพระบิดาของพระองค์ท่าน เป็นชนชาวจีน พำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาสามชั่วอายุคนแล้ว คุณทวด เป็นพนักงานเรือสำเภาหลวง ตำแหน่งนายสำเภา เรียกเป็นภาษาจีนว่า จุ้นจู๋ มียศเป็น ขุน เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดอยู่ในกรมพระคลังสินค้า คุณทวด ของพระองค์ท่าน รับราชการใน รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น ทางราชสำนัก จ้างชาวต่างประเทศมาเป็นพนักงานเดินเรือสำเภา ค้าขายระหว่างประเทศ มีชนชาวจีน เป็นต้น มาถึงรุ่น คุณปู่ ของพระองค์ท่าน ก็เข้ารับราชการในกรมพระคลังสินค้าเหมือนกัน มียศเป็นขุน ตำแหน่ง นายอากรปากเรือ ซึ่งเป็นอากรสินค้าขาเข้า อากรสินค้าขาออก ถือศักดินา ๒๐๐ ไร่ คุณปู่ของพระองค์ท่านรับราชการอยู่ใน รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ พระบิดาของพระองค์ท่านมีพระนามว่า เส็ง เป็นเชื้อสายจีน สืบสายสกุลมาจากคุณปู่ และคุณทวดของพระองค์ท่าน พระบิดารับราชการในกรมพระคลังสินค้า มียศเป็น ขุน ตำแหน่ง นายอากรนา อากรสวน ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พระมารดามีพระนามว่า จีบ เชื้อสายไทย ญาติทางฝ่ายพระมารดาของพระองค์ท่าน คือคุณตา รับราชการ มียศเป็น ขุน เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตำแหน่ง นายอากรสวน นายพลากร เก็บค่าสวนผลไม้ ถือศักดินา ๒๐๐ ไร่
บ้านของพระองค์ท่าน นอกจากรับราชการแล้ว พระมารดายังมีอาชีพทำสวน ทำนา ค้าขายข้าว ส่งให้กับกรมพระคลังสินค้า ส่งขายต่างประเทศข้าวนั้นถือเป็นสินค้าต้องห้าม ของทางราชสำนัก ห้ามมิให้ราษฎรค้าขายข้าว กับชาวต่างประเทศโดยตรงนอกจากนั้นทางบ้านของพระองค์ท่าน ยังขายผลไม้ในสวน ขายเครื่องถ้วยชามที่นำมาจากเมืองจีน และจากที่ทำการปั้นเผาขึ้นเอง มีข้าทาสบริวาร คนงานประมาณ ๑๐-๒๐ กว่าคน มีที่สวน และที่นา ประมาณ ๒๐๐–๔๐๐ กว่าไร่ นับว่าที่บ้านท่านมีความเป็นอยู่ อย่างสุขสบาย และเนื่องจากท่านมีผิวพรรณขาวสดใส ไปทางข้างพระบิดา, มารดาบิดาจึงขนานพระนามให้ท่านว่า สุก ซึ่งหมายความว่า ขาว หรือ ใส ตามที่กล่าวแล้วข้างต้นชีวิตทรงพระเยาว์ขณะทรงเจริญพระชันษาได้ประมาณ ๑๒-๑๓ พรรษา พระองค์ท่านทรงมีความสามารถ พูดภาษาจีนได้ เนื่องจากทรงได้ยินพระบิดา เจรจากับข้าทาสบริวารทุกวัน และพระบิดาของพระองค์ท่าน ซึ่งมีเชื้อสายจีน สอนให้พระองค์ท่านด้วยพระองค์ท่าน ทรงเจริญวัยขึ้นมา พระมารดา-บิดา ก็ให้พระองค์ท่านไว้จุก ต่อมาเมื่อพระองค์ท่าน ทรงมีพระชนมายุย่างเข้า ๑๓ พรรษา ทางบ้านของพระองค์ท่านก็จัดงาน โสกันต์ คืองานโกนจุก ตามประเพณีไทย มีอาราธนานิมนต์พระสงฆ์ วัดโรงช้าง วัดท่าข่อย(ท่าหอย) มาเจริญพระพุทธมนต์ ฉันภัตตาหารเพล พระสังฆเถรผู้ใหญ่ทำพิธีตัดจุกเมื่อพระองค์ท่าน ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น ทรงรักการอ่าน การเขียนทั้งภาษาไทย ภาษาจีน และทรงมีพระปรกตินิสัย รักความสงบวิเวก พระองค์ท่านไม่ชอบเสียงอึกทึกวุ่นวาย ทรงมีพระทัยสุขุมเยือกเย็น เป็นคนเจรจาไพเราะ พูดน้อยอ่อนหวาน แบบคนไทย ติดมาข้างพระมารดาพระองค์ท่าน ทรงชอบความสงบสงัดร่มเย็นของป่าดง บริเวณหลังสวน-ไร่นาของบ้านท่าน ติดกับป่าโปร่ง โล่งตลอดไปไกล เลยป่าโปร่งออกไป ก็เป็นป่าทึบบ้าง ป่าโปร่งบ้าง เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น หมูป่า ลิง ไก่ป่า กระรอกนก หลากหลายพันธุ์ ส่งเสียงร้อง เสียงขัน แข่งขันกันเซงแซ่ เป็นธรรมชาติ
พระองค์ท่านทรงมีพระปรกตินิสัยเมตตาติดพระพระองค์มาแต่กำเนิด ตลอดเป็นนิจกาล บรรดานกกา ลิงป่า เห็นพระองค์ท่านเดินมาแล้วมักส่งเสียงร้อง หันมาทางท่านเหมือนทักทายส่วนบรรดาไก่วัด ไก่บ้าน เห็นพระองค์ท่านแล้ว มักเดินเรียบเคียงร้องเสียงกุ๊กๆเข้ามาหาพระองค์ท่านเสมอด้วยเมตตาจิตของ พระองค์ท่านนั้นเอง บรรดาไก่ป่าเห็นพระองค์ท่านเดินไปป่า มักเดินตามไปบ้าง บินตามไปบ้าง เมื่อพระองค์ท่านทรงเดินกลับบ้าน ไก่ป่าก็เดินมาส่งท่านบ้างบินตามมากับท่านบ้าง ลิงป่า นกป่า ก็ร้องและขันขานเหมือนทักทาย ตามส่งท่านทุกครั้งที่บ้านของพระองค์ท่าน มีเสียงอึกกระทึก วุ่นวาย เสียงนี้มาจากการสั่งงานในบ้านของหัวหน้าบริวารพระองค์ท่านมักชอบดำเนิน เดินหลบเสียงอึกกระทึก อืออึงไปในป่าหลังบ้านแต่ลำพังพระองค์เดียวเสมอ พระองค์ท่านทรงดำเนินไปเรื่อยๆห่างไกลจากที่ไร่ ที่สวน และหมู่บ้าน เข้าถึงป่าโปร่งอันเป็นที่เงียบสงบ จิตของพระองค์ท่านก็สงบวิเวก เมื่อจิตของพระองค์ท่านสงบวิเวก พระองค์ท่านก็จะทรงประทับนั่งลงตามโคนไม้ในท่านั่งปรกติ จิตก็ตั้งมั่น สงบเป็นสมาธิ และทรงแลเห็นรุกขเทวดาที่สิงสถิตตามต้นไม้ จากสมาธิจิตอันบริสุทธิ์ของพระองค์ท่าน บางครั้งพระองค์ท่านทรงเห็นว่า
พระองค์ท่านอยู่ในเพศสามเณรบ้าง อยู่ในเพศบรรพชิตบ้าง แต่ครั้งนั้นพระองค์ท่านยังทรงพระเยาว์อยู่ จึงยังไม่เข้าใจในเรื่องเหล่านี้ดีนัก (หรือท่านจะเข้าใจไม่อาจทราบได้ เนื่องจากท่านมีสมาธิจิตสูง) และเมื่อพระองค์ท่านทรงดำเนินไป หรือ ทรงดำเนินกลับจากป่า มักจะมี ไก่ป่า นก กา บินตามพระองค์ท่านไปเสมอๆ ด้วยได้รับกระแสความเมตตาของพระองค์ท่าน
พระองค์ท่านมักจะได้พบ กับพระสงฆ์สัญจรจาริกธุดงค์ มาปักกลดพักแรมอยู่ ณ.บริเวณ ป่าโปร่งนั้นเสมอๆพระองค์ท่าน ทรงเห็นภาพนี้จนเคยชิน รุ่งเช้าพระสงฆ์รุกขมูล จะเดินออกจากชายป่ามารับอาหารบิณฑบาตรในหมู่บ้านของพระองค์ท่านเสมอ ๆทุกครั้ง บางทีก็มีพระสงฆ์รุกขมูลมาจากที่อื่น พระองค์ท่าน ทรงพบเห็นบ่อยๆ ณ. ที่บริเวณแห่งนั้น ซึ่งเป็นที่เงียบสงบ ห่างไกลผู้คน ไม่พรุกพล่าน และพระสงฆ์รุกขมูล สามารถเดินมาบิณฑบาตโปรดสัตว์ ในหมู่บ้านท่าข่อย ได้สะดวก เพราะไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนัก ที่บ้านของพระองค์ท่าน พระบิดา -มารดาของท่าน ออกใส่อาหารบิณฑบาต ตอนเช้าพระสงฆ์ทุกวัน มิได้ขาด ไม่เลือก ไม่เจาะจงพระสงฆ์ บางครั้งพระองค์ท่านก็ทรงร่วมใส่ อาหารบิณฑบาตรด้วย
วันหนึ่งพระองค์ท่าน ทรงเดินเข้าไปป่าโปร่งหลังสวนของบ้านท่าน อย่างที่เคยไปทุกครั้ง แต่ครั้งนั้น พระองค์ท่านโสกันต์ คือโกนจุกแล้ว ณ. ที่บริเวณแห่งนั้น พระองค์ท่านก็ได้พบพระภิกษุเถรผู้เฒ่า เพิ่งกลับมาจากสัญจรจาริกธุดงค์ รูปหนึ่ง มาปักกลดพักผ่อนอยู่ ณ.ที่บริเวณนั้น เมื่อท่านเดินมาถึง พระภิกษุเถรผู้เฒ่านั่งอยู่ในกลดก็กล่าวทักทายขึ้นก่อนว่า "เออข้าฯมานั่งคอยเอ็งที่นี่นานหลายชั่วยามแล้ว" พระองค์ท่านเห็นก็จำได้ว่า พระภิกษุเถรผู้เฒ่านั้นคือ ท่านขรัวตาทอง วัดท่าข่อย(ท่าหอย) วัดที่อยู่ใกล้หมู่บ้านท่านนั้นเอง เนื่องจากพระมารดา-บิดาของท่าน ไปทำบุญที่วัดท่าข่อยบ่อยๆ อีกทั้งท่านขรัวตาทอง ก็มารับอาหารบิณฑบาตที่บ้านท่านเป็นประจำทุกเช้า โดยทางเรือท่านขรัวตาทอง ได้กล่าวกับ พระองค์ท่านต่อไปอีกว่า ถึงเวลาแล้วที่เจ้าจะต้องไปเรียนหนังสือกับข้าฯ ที่วัดพระองค์ท่านเองก็มีความประสงค์ที่จะไปเรียนหนังสือที่วัดเหมือนกัน เพราะพระองค์ท่าน มีความใฝ่ใจในการศึกษาเล่าเรียน ท่านขรัวตาทองได้กล่าวต่อไปอีกว่า พรุ่งนี้เพลาเช้าข้าฯเข้าไปบิณฑบาตที่บ้านเจ้า ข้าจะบอกกับพ่อแม่ของเจ้าเวลานั้นท่านขรัวตาทอง เพิ่งกลับจากสัญจรจาริกธุดงค์ เพราะเป็นเวลาเกือบจะเข้าพรรษาแล้ว ได้มาปักกลด
พักผ่อนอิริยาบทอยู่ ณ.ที่บริเวณแห่งนั้น ตั้งใจจะคอยพบพระองค์ท่าน(เด็กชายสุก)
กล่าวว่า ท่านขรัวตาทองรูปนี้ท่านมีความ เชี่ยวชาญทางสมถะ-วิปัสสนากัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มีญาณแก่กล้า จึงสามารถที่จะทราบได้ว่าพระองค์ท่าน (หมายถึงหลวงปู่สุก เนื่องจากท่านคุ้นเคย กับท่านขรัวตาทอง มานานแล้ว)มักจะมาที่บริเวณนี้บ่อยๆ ท่านขรัวตาทอง จะมาปักกลดที่นี่ทุกปี ปีนี้ท่านจึงปักกลดคอยพบพระองค์ท่าน ไม่ไปให้ถึงวัดท่าข่อย(ท่าหอย) เลยทีเดียว พอรุ่งเช้า ท่านขรัวตาทอง ก็เข้ามาบิณฑบาตโปรดสัตว์ที่บ้านมารดาบิดาของพระองค์ท่าน มารดาบิดาของท่าน เห็นพระภิกษุเถรชราผู้นี้แล้วก็ดีใจ ยกมือขึ้นนมัสการท่าน เพราะจำได้ว่า คือท่านขรัวตาทอง วัดท่าข่อย ที่เคยเคารพนับถือกันมาก และคุ้นเคยกันมานาน มารดาบิดาของพระองค์ท่าน ก็กล่าวกับท่านขรัวตาทองว่า ท่านกลับมาจากรุกขมูลแล้ว หรือ โยมจะนำลูกชายไปฝากเรียนหนังสือกับท่านที่วัด ท่านขรัวตาทอง กล่าวว่า ข้าก็ตั้งใจจะมาบอกโยมให้นำลูกชายไป เรียนหนังสือที่วัด เมื่อมีใจตรงกันทั้งสองฝ่าย ก็เป็นอันตกลงที่จะนำลูกชายไปฝากวัด เรียนหนังสือ
ชีวิตในวัยบวชเรียนของหลวงปู่ Click ! เพื่ออ่านต่อ
บทความที่เกี่ยวข้อง
พระครูปัญญาวุธคุณ หลวงพ่อสำอางค์
พระครูปัญญาวุธคุณ มีนามเดิมว่า สำอางค์ เกิดวันพฤหัสบดี แรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ บิดาชื่อนายผัน มารดาชื่อ นางปลื้ม สุขมีทร
พระครูญาณสิทธิ หลวงปู่เชื้อ
พระครูญาณสิทธิ (เชื้อ) มีนามเดิมว่า เชย นามสกุล จันทน์ปราณีต และเปลี่ยนเป็น เชื้อ จันทน์ปราณีต ขณะเมื่อเป็นพระถานานุกรม ของพระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม)พระ
พระครูสังวรสมาธิวัตร หลวงปู่แป๊ะ
พระครูสังวรสมาธิวัตร มีนามเดิมว่า แป๊ะ สีเนื้อขาว สันฐานสันทัด ตำหนิใฝ่ ที่ริมฝีปากบนข้างซ้าย อาชีพกสิกรรม บิดาชื่อนายจิ๋ว มารดาชื่อนางฉิม เกิดเมื่อ