ความอัศจรรย์ของจิตมนุษย์
เขียนเมื่อ 2014-10-19 09:20:46
5455 ครั้ง
ในจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง ที่อุบัติขึ้นมาบนโลกใบนี้ มีเพียงมนุษย์เท่านั้น ที่มีความสามารถพิเศษทางจิต กล่าวคือสามารถอบรมและพัฒนาจิตอันเป็นนามธรรมให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเองได้ และความสามารถในการพัฒนาคุณสมบัติอันพิเศษทางจิตนี้ยังช่วยให้มนุษย์สามารถค้นพบปัญญาแห่งความรู้แจ้งนานัปการ รวมถึงปัญญาแห่งการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป มนุษย์จึงถูกเรียกว่าเป็น "สัตว์ประเสริฐ"
ในขณะที่สัตว์โลกชนิดอื่นๆ ที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไปนั้นล้วนเป็นเพียงสัตว์เดรัจฉา ซึ่งมีเพียงอาการของสัญชาตญาณของการเป็นสัตว์โลกเท่านั้น จึงทำให้พวกมันไม่อาจเข้าใจในนามธรรม (พลังจิต) และไม่อาจพัฒนาสิ่งที่เป็นนามธรรมอันวิเศษนี้ได้ เฉกเช่นที่มนุษย์สามารถกระทำได้ ดังนั้นเรื่องของจิตและพลังที่เกิดจากจิตจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ทุกคน
สิ่งที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในโลกธาตุและจักรวาลธาตุนี้ก็คือ "พลังแห่งจิต" แม้กระทั่งไอน์สไตน์ผู้คนพบระเบิดปรมณู อันมีพลังอำนาจในการทำลายล้างอย่างมหาศาล ยังกล่าวยอมรับว่าพลังที่มีอำนาจมากที่สุดโลกนั้นมิใช่พลังที่มีอานุภาพอย่างไร้ขอบเขตไร้ขีดจำกัด หากแต่เป็นพลังงานจิตซึ่งเป็นพลังงานที่หาที่สุดมิได้ ...ด้วยเหตุนี้เองไอน์สไตน์จึงมีความสนใจในเรื่องของพลังจิต และกระบวนการอบรมจิตตามหลักการของพุทธศาสนา และเชือว่าศาสนาพุทธเท่านั้นที่จะสามารถนำเขาค้นพบสัจธรรมความจริงแห่งชีวิตอันยิ่งใหญ่บนโลกใบนี้ได้
มีผู้วินิจฉัยเรื่องของจิตไว้ว่า ถ้าจิตเป็นนามธาตุซึ่งแยกต่างหากจากรูปธาตุ ซึ่งทฤษฎีสัมพันธภาพ ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำให้รู้ว่าสสารทำให้เกิดเวลาและระยะทาง หากจิตแยกต่างห่างจากรูปตามหลักพุทธศาสนา จิตย่อมหลุดพ้นเป็นอิสระจากเวลาและระยะทางได้ จนน่าจะสามารถหยั่งรู้ได้ทุกสิ่งโดยไม่ติดขีดจำกัดของเวลาและระยะทาง อีกทั้งมีการพิสูจน์ว่าเวลาของสัตว์แต่ละชนิดน่าจะไม่เท่ากัน เช่นจิตของเต่าจะนานกว่าจิตมนุษย์เป็นต้น กบจิตจะเร็วกว่ามนุษย์มากจนพริบตาที่กบจับแมลงมนุษย์จะจับตาไม่ทัน
ดิน=ร่างกาย / น้ำ=ของเหลว / ลม=หายใจ / ไฟ=ความอบอุ่น
การเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ละเอียดกว่า ให้พลังงานมากกว่าการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่หยาบ เพราะการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ละเอียด มีผลกระทบต่อเนื่องไปมากกว่าไกลกว่า จึงให้พลังงานมากกว่าการเปลี่ยนแปลงที่หยาบกว่า เช่นเดียวกับพลังงาน ธาตุของแข็ง (ดิน) ให้พลังน้อยกว่าเหลว ของเหลว (น้ำ) ให้พลังงานน้อยกว่าแก๊ส (ลม) ให้พลังงานน้อยกว่าพลาสม่า พลาสม่า (ไฟ) ที่ความถี่ต่ำให้พลังงานน้อยกว่าพลาสม่าที่ความถี่สูง (เช่น รังสี X) จิตนั้นเป็นสิ่งที่ละเอียดมาก ย่อมเปลี่ยนแปลงวัตถุได้ในระดับบริสุทธิได้ ความละเอียดของจิต อยู่ในระดับนามธรรม อยู่ในระดับจินตนาการ อยู่ในระดับอธิฏฐาน ดังนั้น พลังจิตจึงมีพลังมาก และ ผู้ที่จิตละเอียดในระดับบริสุทธิจึงมีพลังไร้ขีดจำกัด
จิต เป็นธรรมชาติที่เกิด-ดับ รับรู้อารมณ์สืบเนื่องไปทุกขณะ
ทางช่องทางทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า วิญญาณ
มนุษย์ทุกคนต่างมีจิตอันเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ชีวิตดำเนินไปได้ แต่ทุกวันนี้มนุษย์กลับสามารถใช้พลังจิตของตนเองได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งถ้าเทียบเป็นสัดส่วนแล้ว มนุษย์สามารถใช้พลังจิตที่มีอยู่ในตัวได้ไม่ถึงห้าเปอร์เซ็นต์นั้น มนุษย์กลับไม่อาจเข้าไปใช้งานพลังเหล่านั้นได้เลย ทั้งนี้เพราะจิตส่วนนี้เป็นจิตไร้สำนึกที่อยู่เหนืออำนาจการควบคุมทางกาย ร่างกายจึงไม่สามารถเข้าไปบังคับควบคุมพลังจิตเหล่านั้นได้ แต่จิตในส่วนนี้กลับเป็นจิตส่วนที่มีพลังมากที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นไปของชีวิตเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ
จิตหรือนามธาตุนั้นจัดเป็นธาตุพลังงาน เช่นเดียวกับพืชที่โดยสภาวะเดิมแท้ (หลักวิทยาศาสตร์) ก็เป็นธาตุพลังงานเช่นเดียวกัน ดังนั้นพุทธศาสนาจึงไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่ออะไรในการที่จะเกิดมีสภาวะชีวิตของนามธาตุหรือจิตขึ้น เพราะพืชซึ่งเป็นสภาวะพลังงานเหมือนกันยังเกิดมีชีวิตได้เอง
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
"จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้"
คนที่ฝึกจิตดีแล้ว ทำแต่สิ่งดีมีประโยชน์ ย่อมได้รับผลของการทำดีนั้น คือ ไม่ต้องเดือดร้อน มีคนรักใคร่นับถือ ไม่มีศัตรู มีเกียรติ มีอาชีพและฐานะที่มั่นคง และจิตที่ฝึกดีแล้วนั้นจะสงบระงับ ได้รับความสุขลึกซึ้งอีกด้วย
จิตที่ยังไม่ได้รับการฝึก เมื่อมีอารมณ์มากระทบเข้า ย่อมจะหวั่นไหวไปตามอารมณ์นั้น เช่น เมื่ออารมณ์ที่น่าใคร่มากระทบ จิตก็เกิดความใคร่ดิ้นรนอยากได้ เมื่ออารมณ์ที่น่าชังมากระทบก็เกิดความขัดใจ ดิ้นรนอยากผลักไสให้พ้นไป เป็นต้น ความดิ้นรนของจิต ถ้ารุนแรงมากก็ถึงกับทำความผิด ก่ออาชญากรรมต่าง ๆ ขึ้น ล้วนแต่นำความทุกข์ความเดือดร้อนมาให้ทั้งสิ้น แต่จิตที่ได้รับการฝึกแล้วจะสามารถทนต่ออารมณ์ที่มากระทบได้ จึงไม่ดิ้นรน ไม่นำไปก่อความผิด จึงไม่มีความเดือดร้อน และจิตที่สงบระงับย่อมมีความสุขที่ลึกซึ้งอีกด้วย สุขทุกข์อยู่ที่จิตใจ ถ้าจิตใจดิ้นรนเร่าร้อนก็เป็นทุกข์ ฝึกจิตให้สงบระงับได้ จึงจะได้สุขที่แท้จริง
ฝึกจิต เริ่มง่ายๆ คือการกำหนดรู้ลมหายใจ เข้า-ออก ตัวเอง ตลอดเวลา
สิ่งที่ได้ทันตา คือสติและสมาธิ หลังจากนั้น ปัญญาจะเกิดขึ้นเองครับ
........................................................................................
บทความที่เกี่ยวข้อง
เลือกของทำบุญอย่างไรให้เหมาะสม
การทำบุญ เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานานโดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วันพระ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่ทำบุญไปนั้นได้ใช้ประโยชน์มากน
พระประจำวันเกิดทั้ง 8 และประวัติ...
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ประชากรร้อยละ 95 ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ซึ่งถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้ นอกจากพระประธานที่พุทธศาสนิกช
พระโบราณกับการความอุทิศตน ด้วยก...
การรักษาศพหรือการทำมัมมี่ของคนที่ตายแล้วก็ว่าน่าทึ่งแล้ว แต่การทำมัมมี่ตัวเองทั้งๆ ที่ ยังไม่ตาย น่าทึ่งมากยิ่งกว่า ซึ่งอยากจะบอกว่า กระบวนการทำมัมมี่