หมวดหมู่

บทความล่าสุด

  • thumbnail

    ชุดพระเหรียญโชคลาภ ปี2558

    ชุดพระเหรียญโชคลาภ ปี2558, พระโชคลาภปี58, บูชาได้โชค ได้ลาภ ปี2558, วัดพลับ, คณะ5

  • thumbnail

    เหรียญพระสีวลี

    เหรียญพระสีวลี, เหรียญโลหะพระสีวลี, คณะ5 วัดราชสิทธาราม

  • thumbnail

    งานพุทธาภิเษก พระพุทธเมตตา วันที่ 14 ธันวาคม 2557

    งานพุทธาภิเษกพระพุทธเมตตา วันที่ 14 ธันวาคม 2557 ณ.คณะ5วัดราชสิทธาราม โดยพ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี

  • thumbnail

    งานพุทธาภิเษก เหรียญพระสีวลี คณะ 5 วัดราชสิทธาราม

    งานพุทธาภิเษกเหรียญพระสีวลี วันที่ 29 พฤษจิกายน 2557 ณ.คณะ5วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)

  • thumbnail

    เลือกของทำบุญอย่างไรให้เหมาะสม

    การทำบุญ เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานานโดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วันพระ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่ทำบุญไปนั้นได้ใช้ประโยชน์มากน

  • ชีวิตในวัยบวชเรียนของหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน

    ชีวิตในวัยบวชเรียนของหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน

     

                    สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น วัด คือที่อบรมสั่งสอนกุลบุตร ครูที่อบรมสั่งสอน คือพระสงฆ์, พระสงฆ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความรู้มากมายหลายด้าน เด็กที่ได้เล่าเรียนหนังสือก็จะมีแต่เด็กผู้ชายเท่านั้น ไม่นิยมให้เด็กผู้หญิงไปเรียนหนังสือที่วัดเพราะครูที่สอนหนังสือ เป็นพระสงฆ์ จึงไม่เหมาะที่เด็กผู้หญิงจะไปเรียนครั้นเวลา แม่แลง (การนับเวลากรุงศรีอยุธยา) มารดาบิดา ได้นำดอกไม้ธูปเทียน ตามประเพณีไทย นำพระองค์ท่านไปฝากตัวกับ ท่านขรัวตาทอง ณ วัดท่าข่อย ต่อมาพระองค์ท่าน ก็ได้บรรพชา เป็นสามเณร อยู่ที่วัดท่าข่อย ริมคลองบ้านข่อย ท่านขรัวตาทอง วัดท่าข่อย(ท่าหอย) เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งนับเป็นพระอาจารย์ พระองค์แรก ของพระองค์ท่านพระขรัวตา คือพระสงฆ์ที่คงแก่เรียน เรียนรู้วิชาการทุกอย่างไว้มาก มีพรรษายุกาลมาก เชี่ยวชาญสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มีความรู้ความสามารถ ในการสอน อ่าน-เขียนอักขระขอม-ไทย ในการบอกหนังสือจินดามณี ในการบอกหนังสือคัมภีร์มูลกัจจายน์ (หนังสือเรียนไวยากรณ์บาลี) เป็นต้น เป็นพระสงฆ์ ที่มักน้อย สันโดดไม่มีสมณะศักดิ์ จึงเรียกขานกันว่า พระขรัวตา พระสงฆ์ในสมัยอยุธยาท่านมีความรู้ทั้งทางปริยัติ และปฏิบัติ สม่ำเสมอกัน สมัยนั้นนิยมเล่าเรียนศึกษาทั้งปริยัติ และปฏิบัติ ควบคู่กันไป โดยไม่แยกศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน

                   ท่านขรัวตาทอง ทางการคณะสงฆ์ เรียกขานท่านว่า พระอธิการทอง สถิตวัดท่าข่อย(ท่าหอย) ท่านขรัวตาทองมีชนมายุอยู่มาถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยาท่านขรัวตาทอง ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์บอกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับพระองค์แรก ของพระอาจารย์สุก ครั้งบรรพชาเป็นสามเณร อยู่ ณ วัดท่าข่อย(ท่าหอย)  ท่านขรัวตาทอง ท่านบรรพชา-อุปสมบทอยู่วัดโรงช้าง ต่อมาย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหอย ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบต่อมาจาก พระครูวินัยธรรมจ้อย วัดท่าเกวียน กรุงศรีอยุธยา พระครูวินัยธรรมจ้อย ท่านเป็นศิษย์ศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาจากพระพนรัต(แปร) วัดป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา พระพนรัต(แปร) ท่านมีพระชนชีพอยู่ในรัชสมัยพระเจ้าเสือ อยู่มาจนถึงพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ท่านขรัวตาทอง ท่านเป็นพระอานาคามีบุคคล

                   พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา   วัดท่าข่อย (วัดท่าหอย) เป็นวัดประจำตระกูลของพระอาจารย์สุก คุณทวดของพระองค์ท่าน สร้างไว้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดที่มีแต่เขตสังฆาวาส ไม่มีเขตพุทธาวาส วัดท่าข่อยเป็นวัดบริวารของวัดพุทไธศวรรย์ วัดท่าข่อย มีพระเจดีย์ที่เก็บอัฎฐิธาตุ ของบรรพบุรุษตระกูล ของพระองค์ท่าน ซึ่งเป็นประเพณีนิยมในสมัยนั้น นิยมสร้างวัดประจำตระกูล เพื่อเก็บอัฎฐิของบรรพบุรุษ และไว้ให้ลูกหลานวิ่งเล่น อยู่ไกล้วัดหลวง วัดไหนก็เป็นบริวารของวัดหลวงนั้น

                   วัดบริวารของวัดหลวงจะไม่สร้างพระอุโบสถ(ปัจจุบันวัดท่าหอย เป็นวัดร้าง) วัดท่าข่อย อยู่หลังวัดพุทไธศวรรย์ เยื้องไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๓ เส้น และวัดท่าข่อยนี้ อยู่หลังวัดโรงช้าง เยื้องไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๓ เส้น ถ้ามาจากแม่น้ำหน้าวัดพุทไธศวรรย์ ล่องเรือมาทางทิศตะวันตกประมาณ ๑ เส้น เลี้ยวขวาเข้าคลองบ้านข่อย (คลองคูจาม) ไปประมาณ ๒ เส้น ก็ถึงท่าน้ำ วัดท่าข่อย (ท่าหอย) ถ้ามาจากแม่น้ำหน้าหน้าวัดโรงช้าง ล่องเรือขึ้นมาทางทิศตะวันออกประมาณ ๑ เส้น เลี้ยวซ้ายเข้าคลองบ้านข่อย (คลองคูจาม) ไปประมาณ ๒ เส้น ก็ถึงท่าน้ำ วัดท่าข่อย(ท่าหอย)วัดท่าข่อย อยู่ห่างจาก วัดพุทไธศวรรย์ และวัดโรงช้าง ระยะเท่าๆกัน สองวัดนี้อยู่ริมแม่น้ำทั้งสองวัด พระอาจารย์ สุกบรรพชาเป็นสามเณร อยู่วัดท่าข่อย เพราะเป็นวัดประจำตระกูล อยู่ไกล้ละแวกบ้าน และท่านขรัวตาทอง ก็สนิทคุ้นเคยกัน ต่อมาภายหลังพระองค์ท่าน ทรงอุปสมบท ไปอุปสมบทที่วัดโรงช้าง เพราะ เจ้าอาวาส วัดโรงช้าง องค์ปัจจุบัน เคยเป็นพระอุปฌาย์-อาจารย์ ของคุณปู่ และพระบิดาของพระองค์ท่าน ซึ่งบวชศึกษาพระกัมมัฎฐานมัชฌิมา อยู่วัดโรงช้าง มาแต่ก่อน

                   วัดท่าข่อย เป็นชื่อเดิมของวัด ท่าหอย วัดท่าข่อย - วัดท่าหอย จึงเป็นวัดเดียวกัน แต่สมัยกาลนานมา หลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลายแล้ว จนกระทั้งพระเจ้าตากสิน มาสร้างกรุงธนบุรี คนไทยที่เคยตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยใกล้บริเวณวัดท่าข่อยครั้งกรุงศรีอยุธยามาแต่เดิมนั้น ได้ล้มหายตายจากไปส่วนมาก ไม่มีใครได้กลับมาตั้งถิ่นฐานในที่เดิมนี้อีก มีแต่คนรุ่นใหม่ที่ย้ายมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณวัดท่าข่อย ต่อมาครั้งกรุงธนบุรีผู้คนแถบนี้ได้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางฝั่งกรุงเก่ากันหมดผู้คนทั้งหลายจึงเริ่มลืมเลือน ชื่อเดิมของวัดท่าหอย(ท่าข่อย) เพราะเป็นวัดราษฎรเล็กๆไม่มีชื่อเสียง ต่อมาบริเวณใกล้วัดท่าข่อยกลายเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพวกแขกจาม กล่าวว่าพวกแขกจาม เป็นเชลยศึกครั้งกรุงธนบุรี สำเนียงพวกแขกจาม ที่เรียกขาน วัดท่าข่อย จึงเพี้ยน เป็นวัดท่าหอย แต่นั้นมา

                   วัดท่าข่อย จึงเรียกขานนามกันใหม่ว่า วัดท่าหอย ตั้งแต่นั้นมา วัดท่าข่อยนี้ เป็นที่เรียนหนังสือ ครั้งแรกของพระอาจารย์สุก ที่บรรพชาเป็นสามเณร ครั้งแรกของพระอาจารย์สุก เป็นที่ฝึกเจริญสมาธิครั้งแรก ของพระอาจารย์สุก และเป็นวัดที่พระอาจารย์สุก ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสครั้งแรก วัดท่าหอย ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีแต่สังฆาวาส คือมีกุฏิสงฆ์ ๕-๖หลัง กับศาลาบำเพ็ญกุศลขนาดย่อมๆ ๑ หลัง เท่านั้น ก่อนนั้นเวลาทำสังฆกรรม เช่น อุปสมบท ลงปาฏิโมกข์ ต้องไปลง ไปทำวัดใหญ่ๆ เช่น วัดโรงช้าง วัดพุทไธศวรรย์  วัดราชาวาส เป็นต้น ส่วนเขตพุทธาวาส เช่น พระอุโบสถ มาสร้างขึ้นภายหลัง เมื่อพระอาจารย์สุก มาเป็นพระอธิการ ณ วัดท่าหอย ครั้งที่สอง ครั้งกรุงธนบุรี

                   คลองบ้านข่อย เป็นชื่อเดิมของ คลองคูจาม สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี คลองบ้านข่อยเกิดตื้นเขิน เรือ แพล่องไปมา ไม่สะดวก พวกแขกจามที่ตั้งบ้านเรือน อยู่ในบริเวณนั้นใช้เรือ แพ สัญจรทางน้ำไปมา ไม่สะดวก จึงเกณฑ์พวกพ้องแขกจามด้วยกัน ช่วยกันขุดลอกคลองบ้านข่อยขึ้นใหม่ ให้ลึกกว่าเก่า แต่นั้นมาคลองบ้านข่อย จึงได้ใช้สัญจรไปมา ได้โดยสะดวก  แต่นั้นมา คลองบ้านข่อย จึงได้เรียกขานนามกันใหม่ว่า คลองคูจาม ส่วนคลองตะเคียนนั้น อยู่เหนือคลองคูจามขึ้น  ไปอีกคุ้งหนึ่ง สมัยนั้นคลองเดียวกันตลอดสาย เรียกชื่อต่างๆกันไปตามชื่อหมู่บ้าน ตามชื่อตำบล คลองผ่านหมู่บ้านไหน ตำบลไหน ก็เรียกคลองที่ผ่านหมู่บ้านนั้นตำบลนั้น ตามชื่อหมู่บ้านนั้น ตามชื่อตำบลนั้น เช่นผ่าน วัดตะเคียน ก็เรียก คลองตะเคียน เป็นต้น

                  กล่าวว่า เมื่อท่านขรัวตาทองกลับมาจากรุกขมูลครั้งนั้น อีกเหลือเวลาอีก เกือบเดือนก็จะเข้าพรรษาแล้ว ท่านขรัวตาทอง ดำริว่าสังขารชราภาพมากแล้ว จะไม่ออกธุดงค์อีก เมื่อเด็กชายสุก มาอยู่ปรนนิบัติรับใช้ท่านขรัวตาทองครั้งนั้น ท่านขรัวตาทองมักเล่าเรื่องราวให้เด็กชายสุกฟัง  ต่อมาเด็กชายสุกอยากจะออกไปธุดงบ้างโดยจะขอตามพระอาจารย์ไป แต่ท่านขรัวตาทองไม่คิดออกธุดงค์แล้ว แต่ท่านเมตตาตาสงสารเด็กชายสุก อยากออกธุดงค์บ้าง ท่านขรัวตาทอง ท่านเล็งเห็นอุปนิสัยเด็กชายสุก มีอัฌยาสัยทางนี้ อยู่มาวันหนึ่งก่อนเข้าพรรษาประมาณ ๑๐วัน ท่านขรัวตาทองเรียกพระอาจารย์แย้มมา บอกฝากวัดไว้สาม-สี่วันแล้วเรียกเด็กชายสุกมา บอกว่าจะพาออกธุดงค์ไปป่าเขาสามสี่วัน ท่านขรัวตาทองท่านมีอภิญญาจิต ชั่วเวลาไม่เท่าไร ท่านก็พาพระอาจารย์สุกมาถึงกลางป่าแห่งหนึ่ง พักปักกลด และออกเดินอยู่สามสี่วัน ท่านก็กลับถึงวัดท่าหอย ด้วยเวลาไม่กี่ยาม ด้วยอภิญญาจิต(ย่นระยะทาง)พระอาจารย์สุก ได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งนั้น พระองค์ท่านได้ปรนนิบัติรับใช้ ท่านขรัวตาทอง ผู้เป็นอุปัชฌาอาจารย์ ซึ่งตอนนั้นท่านทุพพลภาพ ชราลงมากแล้ว สามเณรสุก ได้ผลัดเปลี่ยนกับสามเณรองค์อื่นๆคอยดูแลพระอาจารย์

                    ต้มน้ำร้อน น้ำชา กลางวัน พระองค์ท่าน ทรงเล่าเรียนหนังสือภาษาไทย คัมภีร์จินดามณีเวลากลางคืน พระอาจารย์ของพระองค์ท่าน ก็สอนให้พระองค์ท่านให้นั่งสมาธิ โดยการสำรวมจิต สำรวมอินทรีย์แต่การนั่งสมาธิเมื่อครั้งพระองค์ท่านเป็นสามเณรน้อยๆนั้น พระอาจารย์ของพระองค์ท่าน บอกให้พระองค์ท่านนั่งเจริญสมาธิเพื่อเป็นพื้นฐานไว้เท่านั้น แต่สามเณรน้อยๆ มีนิวรณ์ธรรมน้อย จิตจึงข่มนิวรณ์ธรรมได้เร็ว จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้เร็วจึงเป็นเหตุให้ สามเณรสุก มีพื้นฐานทางสมาธิภาวนาแต่นั้นมา

                  กล่าวว่า เมื่อพระองค์ท่านทรงสำรวมจิต เจริญสมาธิครั้งนั้น และด้วยบุญบารมี ของพระองค์ท่านที่ได้สั่งสมมาช้านาน จิตของพระองค์ท่านก็ บรรลุถึงปฐมฌาน ในวิสุทธิธรรมแรกๆ ท่านขรัวตาทองพระอาจารย์ของพระองค์ท่าน ตรวจดูเหตุการณ์นี้แล้วก็รู้ว่าพระองค์ท่านเป็นผู้มีบุญบารมีมาเกิด จะเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปในอนาคต แต่ท่านขรัวตาทอง ก็ไม่ได้สอนอะไรให้พระองค์ท่านเพิ่มเติม เพราะเห็นว่าพระองค์ท่านยังเล็กอยู่ เพียงแต่บอกให้พระองค์ท่านนั่งสำรวมจิต ให้เป็นสมาธิอย่างเดียวแต่เมื่อพระองค์ท่านทรงมีพระชนมายุย่างเข้า ๑๖ - ๑๘ พรรษา ท่านขรัวตาทอง พระอาจารย์ของพระองค์ท่านเห็นว่าพระองค์ท่านพอจะรู้เรื่องสมาธิบ้างแล้ว จึงเริ่มบอกพระปีติ ๕ พระยุคล ๖ พระสุขสมาธิ ๒ ประการ และพระอานาปานสติบ้าง แต่มิได้ให้เข้าสะกด ตั้งใจไว้ให้ท่านอุปสมบทก่อน จึงจะให้ปฎิบัติสมาธิเป็นเรื่อง เป็นราวเป็นแแบแผนที่หลัง

                   และครั้งเมื่อท่านมีชนมายุได้ ๑๖ - ๑๘ พรรษา ท่านขรัวตาทอง ก็สอนให้ท่านอ่าน-เขียน อักษรขอมไทย จนพระองค์ท่านพอมีความรู้บ้างท่านขรัวตาทอง พระอาจารย์ของพระองค์ท่าน เล็งเห็นว่า กาลข้างหน้าเมื่อพระองค์ท่านทรงอุปสมบทแล้ว เวลานั้นจะมีพระมหาเถราจารย์ ชี้แนะพระกัมมัฎฐานมัชฌิมาพระองค์ท่านเอง และท่านขรัวตาทองก็รู้ว่า อายุของท่านจะอยู่ไม่ถึงอุปสมบทสามเณรสุก เป็นพระภิกษุ

                  คัมภีร์จินดามณี เป็นพระคัมภีร์สอนภาษาไทย ที่แต่งขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้แต่งคือ พระยาโหราธิบดี นักปราชญ์ กวีเอกสมัยกรุงศรีอยุธยา คัมภีร์จินดามณีเป็นคัมภีร์ที่นิยม หรือบังคับให้เป็นแบบเรียน และเป็นคัมภีร์สอนหลักการอ่าน การเขียน ภาษาไทย หลักการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์กลอน คัมภีร์นี้ เขียนด้วยตัวอักษรไทย นำเค้ามูล ต้นแบบ มาจาก คัมภีร์มูลกัจจายน์ ลาสิกขากาลเวลาผ่านไป พระองค์ท่านก็สามารถอ่านเขียน ภาษาไทยได้ จนจบตามหลักของ คัมภีร์จินดามณี และอักขระขอม พระอาจารย์ของ พระองค์ท่าน ก็สอนให้พระองค์ท่าน เมื่อทรงมีชนมายุย่างเข้า ๑๖ - ๑๘ ปีนี่เองหลายปีต่อมาที่บ้านของพระองค์ท่าน พี่น้องได้ออกเรือนไป(แต่งงาน) ท่านมีความสงสารมารดาบิดา(เข้าใจว่าพระบิดา ลาออกจากราชการแล้ว) เนื่องจากท่านแก่ชราลงแล้ว ยังต้องมาดูแลกิจการเลือกสวนไร่นาอีก พระองค์ท่านจึงมี

                   ความดำริที่จะขอลาบรรพชา ออกมาจากสามเณร มาช่วยมารดาบิดาของพระองค์ท่าน ดูแลกิจการเลือกสวน ไร่นา คนงานข้าทาสบริวาร เพื่อตอบแทนพระคุณมารดา-บิดา ไม่อยากเห็นท่านลำบากกาย ลำบากใจถึงปีพระพุทธศักราช ๒๒๙๔ พระองค์ท่านมีพระชนมายุได้ ๑๘ พรรษา พระองค์ท่านจึงไปขออนุญาต ท่านขรัวตาทอง องค์พระอุปัชฌาย์ ขอลาบรรพชา จากสามเณร เพื่อออกไปช่วย มารดาบิดา ดูแลกิจการ สวน ไร่ นา ควบคุมข้าทาส บริวาร พระอุปัชฌาย์เห็นว่าพระองค์ท่าน มีความกตัญญูต่อมารดาบิดา ก็อนุญาตให้ พระองค์ท่านลาบรรพชาไป เมื่อพระองค์ลาบรรพชาไปนั้น เมื่อว่างจากกิจการงาน พระองค์ท่านมักหลบไปเจริญสมาธิในป่าหลังบ้านเสมอๆ บางครั้งก็ไปวัดท่าหอยนั่งเจริญสมาธิบ่อยครั้ง และทรงเข้าหาพระอาจารย์ ท่านขรัวตาทอง เพื่อสอบอารมณ์ จนพระองค์ ท่านสามารถเห็นรูปทิพย์ได้ ฟังเสียงทิพย์ได้ เรียกว่า ทรงเจริญกัมมัฎฐานสองส่วนได้ เห็นรูปทิพย์ และฟังเสียงทิพย์ ต่อมาพระองค์ท่านทรงสามารถกระทบจิตได้อีกด้วย 

                  พระองค์ท่าน ทรงลาบรรพชาไปช่วยมารดา-บิดาดูแลกิจการได้ประมาณ ๒ ปีเศษ ท่านขรัวตาทอง วัดท่าข่อย (ท่าหอย) ก็ถึงแก่มรณะภาพอย่างสงบ ลงด้วยโรคชรา เมื่อครบร้อยวันการทำบุญสรีระสังขารของท่านขรัวตาทอง พระองค์ท่าน และมารดาบิดา ของพระองค์ท่าน ก็ไป
    ช่วยงานปลงศพ ท่านขรัวตาทอง ณ ที่วัดท่าหอย เสร็จงานปลงศพ ท่านขรัวตาทอง วัดท่าหอยแล้ว ชาวบ้านทั้งหลายในวัดท่าหอย ได้ยกให้ พระอาจารย์แย้ม วัดท่าหอย ศิษย์ท่านขรัวตาทอง ขึ้นเป็นพระอธิการ วัดท่าหอย เป็นองค์ต่อมาอุปสมบท ถึงปีพระพุทธศักราช ๒๒๙๗ มารดาบิดาของพระองค์ท่าน ชราภาพลงมากแล้ว พวกลูกๆ ต่างก็พากันมาคอย ปรนนิบัติรับใช้มารดา-บิดา และช่วยดู แลกิจการ การทำสวน ไร่ นา ควบคุมข้าทาสบริวาร เป็นการแสดงความกตัญญู อันเป็นคุณธรรมที่บุตรพึงมีแก่ มารดาบิดา 

                 ครั้งนั้นมารดาบิดาของพระองค์ท่าน ต้องการที่จะให้พระองค์ท่านอุปสมบท บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ตัวพระองค์ ท่านเองก็มีความประสงค์ที่จะอุปสมบท บวชเรียน เพื่อทดแทนบุญคุณ มารดา-บิดาด้วย ซึ่งเวลานั้นมารดาบิดาของท่านก็มีความสุขสบายดีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จากการได้พักผ่อน จากการทำมาหาเลี้ยงชีพ เนื่องจากมีพวกลูกๆมาคอยดูแลปรนนิบัติรับใช้ และช่วยดูแลกิจการต่างๆครั้น เวลาใกล้เข้าพรรษาในปีนั้นประมาณต้นเดือนแปด มารดาบิดาของพระองค์ท่าน ได้นำพระองค์ท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์บวชเรียนกับ ท่านพระครูเถรผู้เฒ่า วัดโรงช้าง ซึ่งเป็นวัดใหญ่ อยู่นอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแนวเดียวกันกับ วัดพุทไธศวรรย์ ห่างไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๓-๔ เส้น ฝังตรงข้ามกับ วัดโรงช้าง เลยคูเมืองไปทางทิศใต้เป็นประตูเมือง ชั้นนอก วัดโรงช้าง เป็นวัดใหญ่ เคยเป็นที่เลี้ยงช้างหลวง มาแต่โบราณกาล ท่านพระครูเถรผู้เฒ่า วัดโรงช้างท่านเคยเป็นอุปัชฌาย์-อาจารย์ ของคุณทวด และพระบิดา ของพระองค์ท่านมาแต่กาลก่อน  ท่านพระครูเถรผู้เฒ่า ท่านมีนามเดิมว่า สี ชาวบ้านเรียกขานนามท่านว่า หลวงปู่สี เป็นพระครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระครูรักขิตญาณ สถิตวัดโรงช้าง พระครูรักขิตญาณ(สี)ท่านศึกษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบต่อมาจาก พระครูวินัยธรรมจ้อย วัดท่าเกวียน อยุธยา พระครูวินัยธรรม(จ้อย) เป็นศิษย์พระพนรัต(แปร) วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยพระเจ้าเสือ ท่านพระครูรักขิตญาณ(สี) ท่านเป็นพระอานาคามีบุคคล พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

                กล่าวว่า  " พุทธกาลล่วงเข้า ๓๐๐๐ ปี มีแต่อานาคามีบุคคล"   พระครูรักขิตญาณ(สี) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาอุปสมบท พระอาจารย์สุก และเป็นพระอาจารย์ บอกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เบื้องต้น องค์ที่สอง(เป็นการทบทวน) และสอนบาลี คัมภีร์พระบาลีมูลกัจจายน์เบื้องต้นให้กับพระอาจารย์สุก เมื่ออุปสมบท บวชเรียนในพรรษาต้นๆ ณ. วัดโรงช้างวันที่พระอาจารย์สุก บรรพชา-อุปสมบทที่วัดโรงช้างนั้น เมื่อพระสงฆ์ทำยัตติกรรมเสร็จลง ก็บังเกิดอัศจรรย์ ปรากฎมีแสงสว่าง เหลืองอร่ามพุ่งออกมาทางช่องประตู พระอุโบสถที่เจาะช่องไว้ พร้อมกันนั้นก็มีเสียงไก่ป่า ไก่บ้าน ไก่วัด ร้องกันระงมเซงแซ่ไปหมด คล้ายเสียงอนุโมทนา สาธุการบุญกุศล ผู้คนที่มาในงานบรรพชา-อุปสมบท เห็นอัศจรรย์ดังนั้น ก็ยกมือขึ้นอนุโมทนา สาธุการ กันทั่วหน้าทุกตัวตน ด้วยความปีติใจกล่าวว่าแสงสว่างนั้น เป็นแสงของ เทวดา และพรหมทั้งหลาย มาแสดงอนุโมทนายินดี ที่พระอาจารย์สุก ได้บรรพชา-อุปสมบทในครั้งนั้นพระอาจารย์สุก บรรพชาอุปสมบทแล้ว ทรงได้รับพระฉายานามทางพระพุทธศาสนาว่า พระปุณณะปัญญา (ตามหลักพระบาลีมูลกัจจายน์ ของเก่า ซึ่งมีความละเอียดลึกซึ้งมากกว่าปัจจุบัน) อุปสมบทแล้วในพรรษานั้นพระองค์ท่านได้ศึกษาการอ่าน เขียน อักขระขอมไทย เพื่อเป็นการทบทวน และเตรียมพระองค์ ในการเล่าเรียนพระปริยัติธรรม และศึกษาพระคัมภีร์บาลีมูลกัจจายน์ ซึ่งจารึกพระคัมภีร์ด้วยอักขระขอม ไทยการศึกษาภาษาบาลี คัมภีร์มูลกัจจายน์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่โบราณกาลนั้น กุลบุตรผู้บวชเรียน มีความประสงค์ที่จะศึกษา พระธรรม หรือพระบาลีคัมภีร์มูลกัจจายน์ ต้องเริ่มต้นด้วยการหัดเขียน หัดอ่าน อักษร ขอม ก่อนเพราะพระคัมภีร์พระธรรม และคัมภีร์บาลีจารไว้ด้วยอักษร ขอม กุลบุตรผู้บวชเรียน จะศึกษาพระคัมภีร์มูลกัจจายน์ หรือพระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)