หมวดหมู่

บทความล่าสุด

  • thumbnail

    ชุดพระเหรียญโชคลาภ ปี2558

    ชุดพระเหรียญโชคลาภ ปี2558, พระโชคลาภปี58, บูชาได้โชค ได้ลาภ ปี2558, วัดพลับ, คณะ5

  • thumbnail

    เหรียญพระสีวลี

    เหรียญพระสีวลี, เหรียญโลหะพระสีวลี, คณะ5 วัดราชสิทธาราม

  • thumbnail

    งานพุทธาภิเษก พระพุทธเมตตา วันที่ 14 ธันวาคม 2557

    งานพุทธาภิเษกพระพุทธเมตตา วันที่ 14 ธันวาคม 2557 ณ.คณะ5วัดราชสิทธาราม โดยพ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี

  • thumbnail

    งานพุทธาภิเษก เหรียญพระสีวลี คณะ 5 วัดราชสิทธาราม

    งานพุทธาภิเษกเหรียญพระสีวลี วันที่ 29 พฤษจิกายน 2557 ณ.คณะ5วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)

  • thumbnail

    เลือกของทำบุญอย่างไรให้เหมาะสม

    การทำบุญ เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานานโดยเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วันพระ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่ทำบุญไปนั้นได้ใช้ประโยชน์มากน

  • ประวัติหลวงปู่ด้วง ( ภาคต่อ )

    ประวัติหลวงปู่ด้วง (  ภาคต่อ )

    อ่านภาคแรก >> คลิ๊ก <<
     


     

               กาลต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง พระเทพโมลี (จี่) ไปครองวัดประยูร พระญาณสังวร (ด้วง) ก็กลับมาวัดราชสิทธาราม แต่วัดประยูรครั้ง นั้นอยู่ในเขตปกครองของ พระญาณสังวร (ด้วง) ท่านจึงไป-มาระหว่างวัดพลับ กับวัด ประยูรเสมอ สมัยนั้นพระญาณสังวร (ด้วง) ท่านเป็นพระมหาเถระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้านายในพระราชวงศ์ ทางราชการคณะสงฆ์ และบรรดาญาติโยมทั้งหลาย ให้ความเคารพนับถือยำเกรงท่านเป็นอันมาก ท่านเป็นพระมหาเถรผู้ทรง คุณธรรมสูง ทรงคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา เป็นรัตตัญญูผู้รู้ราตรีนาน ผู้คนทั้งหลายในสมัยนั้น มักเรียกขานนามของท่านว่า หลวงปู่ใหญ่ เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ไปครองวัดประยูรวงศ์แล้ว เรื่องราวต่างๆก็สงบราบคาบลง ท่านครองวัดประยูรวงศ์แล้ว ท่านก็ ยังคงครองวัดพลับอยู่เช่นเดิมด้วย ท่านครองทั้งสองพระอาราม ท่านไปๆมาๆ ระหว่างวัดพลับ กับวัดประยูรวงศ์ กลางวันไปวัดประยูรฯ กลางคืนมาวัดพลับ ที่วัดพลับท่านมี ภาระหน้าที่ใหญ่คือ เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ดูแลศูนย์กลางกรรมฐานของรัตนโกสินทร์

               ดังที่กล่าวมาแล้ว หลังจากวัดประยูร สงบราบคาบลงแล้ว ท่านก็กลับมาวัดราชสิทธาราม จากนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเทพโมลี (จี่) ไปครองวัดประยูร แทน ต่อมาได้เป็นพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่)ในสมัยนั้นมีพระสงฆ์มาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่วัดพลับกัน มากมาย พระญาณสังวร (ด้วง) จึงแต่งตั้งให้ พระครูญาณมุนี (สน) ๑ พระครูญาณกิจ (ด้วง) ๑ พระอาจารย์รุ่ง(พระญาณโกศลเถร) ๑ พระอาจารย์บุญ ๑(พระญาณสังวร)พระ อาจารย์มี ๑(พระโยคาภิรัต)พระอาจารย์เมฆ ๑ (พระสังวรานุวงษ์เถร) และอีกหลายท่าน ที่ไม่ปรากฏนาม เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยท่าน บอกพระกรรมฐาน ช่วยรักษาความ เรียบร้อย ของวัดราชสิทธารามด้วย เหตุนั้นคนทั้งหลายจึงเรียกขานนามท่านว่า หลวงปู่ใหญ่ เพราะท่านควบคุมพระ อาจารย์บอกพระกรรมฐาน วัดพลับถึง ๑๐ กว่าองค์ เหตุที่ท่านปกครองทั้งสองวัด

               เพราะ พระสงฆ์ที่วัดพลับ และวัดประยูรส่วนใหญ่เวลานั้นเป็นสัทธิวิหาริก และเป็นศิษย์ของ ท่านโดยมาก และเคารพในพระอาจารย์ผู้มีคุณธรรมสูง เมื่ออาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ ก็ยังไม่มีใครกล้าทับที่ ตีเสมอครูบาอาจารย์เวลานั้น พระสงฆ์ในกรุงนอกกรุง และหัวเมืองใกล้เคียง ล้วนเดินทางมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับในสำนักพระญาณสังวร (ด้วง) กันเป็นอันมาก เพราะ เป็นวัดกรรมฐานหลักวัดอรัญวาสีใหญ่ เสมือนมหาวิทยาลัยกรรมฐานที่มีชื่อเสียง ทางราชสำนักจึงได้ถวายนิตยภัต แก่พระสงฆ์ที่มาศึกษาพระกรรมฐานในวัดราชสิทธารามนี้ด้วย

               ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๙ ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา อยู่ที่วัดประยูร ต่อมาพระญาณสังวร(ด้วง) ได้ย้ายมาพักฟื้น อยู่ที่วัดราชสิทธาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ เสด็จมาทรงเยี่ยมอาการอาพาธของพระญาณสังวร (ด้วง) เนื่องจากทรงคุ้นเคยกับพระญาณสังวร (ด้วง) มาช้านาน แต่ครั้งพระองค์ทรงผนวชอยู่ที่วัดราชสิทธาราม และทรงนับถือว่าพระญาณสังวร (ด้วง) เป็นพระอาจารย์องค์หนึ่งเมื่อพระญาณสังวร (ด้วง) ถึงแก่มรณะภาพลงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชทานโกศเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี ถวายพระญาณสังวร (ด้วง) ตามตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสีคำให้การขุนหลวงหาวัด ว่า พระพิมลธรรม ๑ พระธรรมอุดม ๑ พระญาณสังวร๑ พระมหาสุเมธ ๑ พระพุทธโฆษา ๑ พระพรหมมุนี ๑ พระธรรมเจดีย์ ๑ พระธรรมไตรโลกย์ ๑ พระธรรมราชา ๑ พระราชาคณะผู้ใหญ่ ๙ องค์นี้ จะพระราชทานโกศนั้น ต้องโกศตู้สี่เหลี่ยมตั้งบนแท่นแว่นฟ้าชั้นหนึ่งมีเครื่องสูงตีพิมพ์แปดคัน กลองชนะเขียว ๕ คู่จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ เปนเกียรติยศ และในวัดราชสิทธาราม(พลับ) นี้ มีได้รับพระราชทาน พระโกศตู้สี่เหลี่ยมตั้งบนแท่นแว่นฟ้าชั้นหนึ่งมีเครื่องสูงตีพิมพ์แปดคัน กลองชนะเขียว ๕ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ เปนเกียรติยศ ๓ องค์คือ เจ้าคุณหอไตร(ชิต) ๑ พระญาณสังวร (ด้วง)๑ พระญาณสังวร(บุญ) ๑ 

               ก่อนพระญาณสังวร (ด้วง) จะถึงแก่มรณะภาพที่วัดราชสิทธารามนั้น ท่านได้ มอบไม้เท้าไผ่ยอดตาลของ สำคัญประจำวัด ประจำพระกรรมฐานมัชฌิมา ไว้ให้แก่พระอาจารย์บุญ หรือพระญาณสังวร (บุญ) ผู้สืบทอดพระกรรมฐานองค์ต่อมาทรงคณะสงฆ์วัดราชสิทธาราม ตั้งสรีระของท่านไว้ในหีบทองทึบด้านหลังฉากพระโกศ ตั้งไว้ด้านหน้าฉาก ตั้ง ณ. ศาลาการเปรียญหลังเก่า ด้านหลังพระอุโบสถ ท่านมรณะภาพที่วัดราชสิทธาราม ซึ่งเป็นพระอารามเดิมของท่าน สิริรวมอายุได้ ๘๙ - ๙๐ ปี

               สรีระของท่านเก็บบำเพ็ญกุศลไว้นานถึง ๕ ปี จึงพระราชทานเพลิงศพ ณ. เมรุวัดราชสิทธาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สร้างเมรุลอยทำด้วยโคลงไม้ ขึงผ้าขาว ประดับด้วยลวดลายกระดาษทอง กระดาษเงิน ห้อยพวงดอกไม้ประดับบนเมรุการประดับประดาครั้งนั้นมากนัก และสวยงาม เมื่อใกล้เวลาประชุมเพลิงพระสงฆ์สมถะวิปัสสนา มากันมากมาย นั่งล้อมรอบเมรุเป็น ๓-๔ ชั้น ผู้คนแน่นขนัดลานวัด ถึงเวลาพระราชทานเพลิง เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ เหตุที่เก็บสรีระสังขารของท่านไว้นานเพราะ ท่านมีลูกศิษย์ทั้งพระสงฆ์ ฆราวาสมากมาย ตลอดระยะเวลาเกือบ ๕ ปีมีการ บำเพ็ญกุศลตลอด อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ยังไม่ทรงว่างพระราชภาระกิจ การพระราชทานเพลิงศพจึงยังคงค้างอยู่หลายปี หลังจากงานพระราชทานเพลิง พระญาณสังวร (ด้วง) เสร็จสิ้นแล้ว เกิดเหตุการณ์ยุ่งยากขึ้นบางประการ เกี่ยวกับอัฏฐิธาตุ บริขาร และไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล ของพระญาณสังวร (ด้วง) คณะญาติโยม คณะขุนนาง คณะสงฆ์ ทางวัดประยูร มาทวงอัฏฐิธาตุ บริขาร และไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล ของพระญาณสังวร(ด้วง) เพื่อนำไปบรรจุ ไว้ ณ วัดประยูรวงศ์ 

               ต่อมา คณะญาติโยม คณะขุนนาง คณะสงฆ์ วัดราชสิทธาราม ได้มอบอัฏฐิธาตุและบริขาร ของพระญาณสังวร (ด้วง) ให้ทางคณะญาติโยม คณะขุนนาง คณะสงฆ์ ทางวัดประยูร แห่นำไปบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์ใหญ่ วัดประยูร อัฏฐิ และบริขาร ของพระญาณสังวร(ด้วง) จึงสถิต ณ พระเจดีย์ใหญ่ วัดประยูร จนถึงทุกวันนี้ ส่วนไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล พระญาณสังวร (ด้วง) ท่านได้มอบให้แก่ พระอาจารย์บุญ หรือพระญาณสังวร (บุญ) วัดราชสิทธารามไว้แล้ว คณะสงฆ์ คณะญาติโยม คณะขุนนาง ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเหมาะสมแล้ว เรื่องราวทั้งหลายจึงยุติลงด้วยดีทางวัดประยูรวงศ์ได้ อัฏฐิธาตุ และบริขาร ของ พระญาณสังวร (ด้วง) ทางวัดราชสิทธาราม ได้ไม้เท้าเบิกไพร ไผ่ยอดตาล ของพระญาณสังวร (ด้วง) อันสืบทอดมาแต่โบราณกาล ครั้งสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ยังทรงพระชนม์อยู่

    - จบ -